เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง คุณพระช่วย...จริงหรือ?

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง คุณพระช่วย...จริงหรือ?
   มีความเชื่ออยู่ในสังคมไทยอย่างหนึ่งว่า บรรดาพระพุทธรูปองค์สำคัญๆ ก็ดี รูปเหมือนเกจิอาจารย์ ตลอดจนเทวรูปต่างๆ ก็ดี ล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยปกป้องให้พ้นจากทุกข์โศกโรคภัย ขจัดสิ่งอัปมงคลต่างๆ แก่ผู้นับถือได้ จึงมีการสร้างย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงเป็นพระเครื่องที่เรียกรวมๆ ว่า วัตถุมงคลสำหรับห้อยคอหรือพกติดตัวไปในที่ต่างๆ เพื่อช่วยคุ้มครองตนให้อยู่รอดปลอดภัย ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา
   สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ในทางธรรมมิได้ระบุว่าอยู่ในมงคลชนิดใด แต่เมื่อพูดถึงอำนาจหรือพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของคนแล้ว คงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อันใดที่ยิ่งใหญ่กว่าความศักดิ์สิทธิ์ของกรรมไปได้ เพราะกรรมคือการกระทำ มีพลังที่ส่งผลมาก ถ้ากระทำดีก็ส่งผลให้ชีวิตดีขึ้น ถ้ากระทำชั่วก็ส่งผลให้ชีวิตเสื่อมลง เป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน และตรงไปตรงมา กระประสบทุกข์โศกโรคภัย หรือสิ่งเลวร้ายต่างๆ ก็ดี การจะอยู่รอดปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้ก็ดี แท้จริงแล้วมาจากการกระทำของตนเป็นสำคัญ และอำนาจของกรรมนั้นอยู่เหนืออำนาจหรือพลังใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่วัตถุมงคลที่ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จริงๆ ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของกรรม เห็นได้จากผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้ ถึงจะมีวัตถุมงคลห้อยอยู่เต็มคอ ก็ไม่อาจช่วยปกป้องคุ้มครองชีวิตตนได้ ส่วนคนที่กระทำแต่คุณงามความดี ถึงไม่มีวัตถุมงคลอะไรเลย ชีวิตก็ดำเนินไปได้โดยสวัสดิภาพ

เรื่องเล่ากฎหมายใกล้ตัว ว่าด้วยเรื่อง "หนี้พนัน"

เรื่องเล่ากฎหมายใกล้ตัว ว่าด้วยเรื่อง "หนี้พนัน"
   แม้การพนันจะแทรกซึมอยู่ในทุกชนชั้นของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหวยใต้ดิน เล่นไพ่ เล่นไฮโล เล่นพนันบอล หรือพนันอย่างอื่นอีกมากมาย ซึ่งคนในสังคมจำนวนไม่น้อยก็หลงไหลกับความสนุกสนานของมัน แต่ในมุมของกฎหมายมองว่า การพนันเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ระบบกฎหมายจึงไม่ได้ให้การยอมรับ และถือว่าการพนัน ไม่ทำให้เกิดหนี้กต่อกันและไม่สามารถบังคับต่อกันได้ ดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๕๓ บัญญัติไว้ว่า "อันว่าการพนันขันต่อ หาก่อเกิดหนี้ไม่"
   คำว่าหาก่อเกิดหนี้ไม่ คือ ไม่มีหนี้หรือภาระที่ต้องชำระหนี้ต่อกันเลย เช่น กรณีเราเป็นผู้ซื้อหวยใต้ดิน ได้ซื้อและสัญญาว่าจะชำระเงินค่าซื้อหวยในงวดหน้า กรณีดังกล่าว เราก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องชำระเงินแต่อย่างใด และเช่นเดียวกัน แม้หวยที่เราซื้อจะถูกก็ตาม เจ้ามือก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระ ซึ่งกรณีนี้ แม้จะนำเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลก็ไม่อาจที่จะยอมรับ หรือบังคับตามที่ขอได้
   แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง หาเป็นไปตามหลักกฎหมายไม่ ร้อยทั้งร้อย เป็นหนี้พนันแล้วต้องดิ้นรน หาเงินไปชำระหนี้ หรือแม้กระทั่ง

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง พาหุง ทำไมใส่บาตร

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง พาหุง ทำไมใส่บาตร
   "พาหุง" เป็นคำเรียกอย่างสามัญ สำหรับบทสวดที่มีชื่อว่า พุทธชยมังคลอัฏฐกคาถา หรือชยมังคลัฏฐกคาถา หรือบางทีก็เรียกว่า พุทธชัยมงคลคาถา
พุทธชยมังคลอัฏฐกคาถา แปลว่า คาถา ๘ บท ว่าด้วยชัยชนะอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า
ชยมังคลัฏฐกคาถา แปลว่า คาถา ๘ บท ว่าด้วยชัยชนะอันเป็นมงคล
พุทธชัยมงคลคาถา แปลว่า คาถาว่าด้วยชัยชนะอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า
   และถ้าสวดครบชุด คือ
(๑) นะโม
(๒) อิติปิ โส (พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ)
(๓) พาหุง
(๔) มะหาการุณิโก
(๕) ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง ก็เรียกว่า "ถวายพรพระ"
   มีความนิยมที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน คือ

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง สิทธิของผู้ต้องหา

เมื่อผู้ต้องหาถูกนำส่งพนักงานสอบสวน ภายหลังฝ่ายจับกุมนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหาจะต้องถูกควบคุมหรือขัง เพื่อทำการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวน และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องหามีโอกาสต่อสู้ตามวิถีทางของกฎหมาย และธำรงค์ไว้ซึ่งสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้
   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจึงได้บัญญัติรับรองสิทธิของผู้ถูกควบคุมหรือขังไว้ ดังนี้
มาตรา ๗/๑  ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุม หรือขัง มีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงาน แจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม และสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(๑) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(๒) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(๓) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(๔) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
    ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา มีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๑๓๔/๔ ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า

มาเรียนภาษาอังกฤษผ่านเฟสบุ๊คกันเถอะ! เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

ก่อนหน้านี้บล็อกของเราได้เชิญชวนผู้อ่าน ให้เรียนรู้ประโยคเด็ดจากภาพยนต์ยอดฮิต เพื่อช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่การใช้ตัวช่วยอย่าง ฟรีแอปพลิเคชั่นช่วยในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  บทความนี้ผู้เขียนจึงขอเชิญชวน ผู้อ่านทุกท่านมาเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเฟสบุ๊คกันเถอะ! สำหรับนักท่องโลกโซเชียล คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าในแต่ละวัน ถ้าว่างเมื่อไหร่ เป็นต้องเข้าเฟสบุ๊ค ดูฟีดข่าว เพจดังยอดนิยม ดูรูปภาพ หรือสเตตัสของเพื่อนๆ แล้วกดไลค์ หรือมีคอมเม้นต์บ้าง กันอยู่บ่อยๆ อย่างไรก็ตาม จะเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากเวลาที่เราเล่นเฟสบุ๊ค แล้วได้รับทั้งความสนุกสนานควบคู่ไปกับความรู้และสาระประโยชน์ต่างๆ
   ปัจจุบันนี้ การเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง (Self-Study) นั้น ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเพียงแค่เราดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นเฟสบุ๊คไว้บนสมาร์ทโฟน แล้วพิมพ์คำว่า "English" ลงในช่องค้นหา ก็จะพบเพจเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษมากมาย ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งในเข้าชมและเรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านเพจของเฟสบุ๊คเช่นกัน วันนี้ขอแนะนำ ๔ เพจ สอนภาษาอังกฤษที่น่าสนใจ และมีคนติดตามจำนวนมาก ดังนี้

กฎหมายใกล้ตัว ตอน ทรัพย์เฉพาะสิ่ง

เมื่อหลายเดือนก่อน ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมฯ ก่อนเดินทางกลับ ผู้เข้าร่วมการประชุมท่านหนึ่งเดินผ่านร้านขายผลไม้ และมีโอกาสได้ชิมกระท้อนรสหวาน ของดีมีชื่อประจำจังหวัด ซึ่งมีรสชาติเป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่งนัก และท่านก็ประสงค์จะซื้อกลับ แต่ด้วยความที่มีธุระจำเป็นที่จะต้องไปทำก่อน ท่านนั้นได้สอบถามแม่ค้าว่า ตั้งร้านขายถึงกี่โมง จึงทราบว่า จะเลิกขายก่อนเวลา ๑๑.๐๐ น. ท่านนั้นประเมินแล้วว่า ธุระที่จะไปทำนั้นคงเสร็จก่อนกำหนด แต่ถ้ารอหลังจากเสร็จ อาจได้กระท้อนลูกเล็ก และไม่สวยงามก็เป็นได้ ท่านจึงได้ตกลงซื้อกระท้อน จำนวน ๓ กิโลกรัม และจะฝากกระท้อนไว้กับแม่ค้า หลังจากกลับมาจากการทำธุระ จะนำขึ้นรถกลับ...ต่อไป เพื่อบรรยากาศในการเดินทางจะได้ไม่น่าเบื่อจนเกินไป ผู้เขียนจึงขออนุญาตแนะนำข้อกฎหมายปนขำขัน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อกระท้อน ท่านสนใจ พร้อมกับกล่าวว่า ก็น่าสนใจ ไหนลองพูดให้ฟังหน่อย ผู้เขียนจึงได้ชี้แจงดังต่อไปนี้
   การซื้อขายทรัพย์สินใดๆ ก็ดี ที่มีการกองรวมกันอยู่ ถ้าเราไม่เลือก เป็นหน้าที่แม่ค้าที่จะต้องเลือกสินค้าชนิดปานกลางให้ เราจะไม่ได้กระท้อนที่ดีที่สุด ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๕ ท่านเลือกกระท้อนที่ท่านคิดว่าดีที่สุดใส่ถุง และเมื่อท่านได้เลือกแล้ว กระท้อนดังกล่าวจะกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งขึ้นมาทันที ซึ่งมีผลทางกฎหมาย ดังนี้

นำเสนอผลงาน (Presentations) ช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษมากว่าที่คิดซะอีก : เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

นำเสนอผลงาน (Presentations) ช่วยพัฒนาภาษาอังกฤษมากว่าที่คิดซะอีก : เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ
   ในปัจจุบันนี้การพูดในที่ชุมชน (Public Speaking) หรือการนำเสนอผลงาน (Presentations) เป็นภาษาอังกฤษ เป็นวิธีการสื่อสารแบบหนึ่งที่ควรรู้ บล็อกของเราก็เล็งเห็นความสำคัญ จึงเป็นที่มาของบทความนี้ เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้สนใจที่จะนำไปใช้ในการประชุมและนำเสนอผลงานต่างๆ ซึ่งบทความนี้ก็รวบรวมสำนวนที่ใช้ในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษ ตามขั้นตอนต่างๆ ของการนำเสนอผลงาน เพื่อให้ผู้สนใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมต่อไป
๑. Opening a presentation (การเริ่มต้นการนำเสนอ)
  ๑.๑  Welcomming the audience (การทักทายผู้ฟัง)
Good morning/afternoon/evening, ladies and gentlemen/everyone.
  ๑.๒ Introducing yourself (การแนะนำตัวเอง)
Let me introduce myself, I'm .... My name is ...
  ๑.๓ Saying what your topic is (การบอกให้รู้ว่าจะพูดเรื่องอะไร)
I've the pleasure to talk to you today about ...
Today, I'd like to present ...
The subject of my presentation is ...

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง "กระทำโดยเจตนา"

   "บุคคล จักต้องได้รับโทษในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา" ประโยคนี้นับว่าเป็นประโยคแรกๆ ของผู้ที่ศึกษากฎหมายที่มีโทษในทางอาญา ได้รับการถ่ายทอดและทำความเข้าใจ ก่อนที่จะนำไปสู่เนื้อหาอื่นๆ ในการศึกษากฎหมาย หลักการดังกล่าวเป็นสิ่งแรกๆ หนังสือคำบรรยายอาญาเกือบครึ่งเล่ม ชั่วโมงเรียนกฎหมายอาญาอีกนับไม่ถ้วน บรรดาเหล่าอาจารย์ต่างพยายามที่จะอธิบายความหมายของหลักการดังกล่าว เพื่อให้ผู้ที่ศึกษากฎหมายได้ทำความเข้าใจกับหลักการของกฎหมาย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ผู้ศึกษากฎหมายหากเห็นว่า จะไม่ออกข้อสอบ หรือหากออกก็เกาะเกี่ยวมาเพียงส่วนน้อย จะไม่ทำความเข้าใจ หรือข้ามเนื้อหาในส่วนนั้นไปเลย ซึ่งวิธีการดังกล่าว  เชื่อว่านักศึกษากฎหมายส่วนใหญ่ก็ทำกัน เป็นผลให้การตีความกฎหมายของผู้ที่ไม่เข้าใจหลักการ ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายของกฎหมายได้ และยังผลให้มีการตีความกฎหมายไปในทางที่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดความคลาดเคลื่อนได้ การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น รวมถึงการเปรียบเทียบข้อกฎหมายของต่างประเทศ ประสบการณ์การทำงาน จะทำให้มีความรู้และความเข้าใจในหลักการของกฎหมายมากขึ้น เพียงพอที่จะกล้าวินิจฉัยว่า กรณีใด มีเจตนา หรือกรณีใดเป็นการกระทำที่ขาดเจตนากระทำความผิดในทางอาญา อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการที่จะนำตัวผู้ที่เรากล่าวหาว่าเขากระทำความผิด ไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ลงโทษได้
   ผู้เขียนขอให้ผู้อ่านศึกษากรณีตัวอย่างต่อไปนี้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบข้อกฎหมายว่า ประเด็นดังกล่าว การกระทำของผู้เขียน มีเจตนากระทำความผิดทางอาญาหรือไม่ อย่างไร

เรียนรู้ประโยคเด็ดจากภาพยนตร์ยอดฮิต! (เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ)

เรียนรู้ประโยคเด็ดจากภาพยนตร์ยอดฮิต! (เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ)
   ภาพยนตร์ (a movie หรือ a motion picture) เป็นสิ่งให้ความบันเทิงลำดับต้นๆ ของใครหลายคนด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป บ้างก็ดูเพื่อผ่อนคลาย บ้างก็เพื่อฆ่าเวลา บ้างก็เพื่อหลบหนีความจริง จนเป็นที่มาของคำว่า escapism และยังมีอีกหลายคนที่เห็นว่าภาพยนตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มหัศจรรย์ Audrey Hepburn หนึ่งในตำนานแห่งฮอลลีวู้ดได้กล่าวไว้ว่า "ทุกสิ่งที่ฉันรู้ ฉันเรียนจากภาพยนตร์" "Everything I learned, I learned from the movies." ผู้เขียนก็เช่นกันที่เห็นว่า ภาพยนตร์เป็นทั้งคลังความรู้ทางภาษา และแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ (source of inspiration) จึงได้รวบรวมสำนวนจากภาพยนตร์ (movie quotes) ที่ผู้อ่านอาจนำไปใช้เพื่อให้กำลังใจตนเองและผู้อื่นได้
๑. "Do or do not. There is no try." จากเรื่อง Star Wars: The Empire strikes back (1980) เป็นช่วงที่ Yoda กำลังฝึก Luke ให้ใช้พลังจิตยกยานอวกาศให้ลอยจากพื้น Luke ตอบว่า "ผมจะลองดู" "I'll give it a try." Yoda จึงกล่าวว่า "มีแต่ทำกับไม่ทำ ไม่มีคำว่าลอง" เพราะคำว่าลอง แสดงถึง การพยายามแบบครึ่งๆ กลางๆ (half-hearted attempts) การลงมือทำด้วยความมั่งมั่น (determination) เท่านั้น จึงจะทำให้งานสำเร็จ

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง หนี้มรดก

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง หนี้มรดก
   หากจะกล่าวถึงมรดก คงเป็นสุดยอดปรารถนาของใครหลายๆ คน ทำให้หวนคิดไปถึงคดีความที่เคยมีท่านหนึ่งมาปรึกษาเกี่ยวกับมรดกไม่ได้ ซึ่งก็นับได้ว่า ไม่น้อยนักที่จะมีคนมาปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และที่เป็นคดีฟ้องร้อง และมาขอปรึกษามากที่สุดก็เป็นมรดกอีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ "หนี้มรดก"  โดยหลักของกฎหมายแล้ว ผู้ใดก่อหนี้ขึ้น ผู้นั้นก็ย่อมมีหน้าที่ ต้องชดใช้ แต่เมื่อเกิดกรณีลูกหนี้เสียชีวิตลง การที่จะให้เจ้าหนี้ไปเคาะฝาโลงเพื่อทวงหนี้ การกระทำแบบนั้น ยังไม่มีหลักประกันใด มารับรองว่าเจ้าหนี้จะได้รับการชำระหนี้ ครั้นจะให้ทายาทรับชำระหนี้แทนทั้งหมด ก็ผิดหลักการของกฎหมายที่ว่า ผู้มีหนี้ต้องชดใช้ เพื่อเยียวยาความเสียหายทั้ง ๒ ฝ่าย กฎหมายจึงต้องบัญญัติมารับรองเรื่องดังกล่าว โดยบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งว่า
"มาตรา ๑๖๐๐ ภายใต้บัญญัติของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้"
   เมื่อกฎหมายได้บัญญัติรับรองว่า "กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง ซ่อมใจ

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง ซ่อมใจ
   ปัญหาอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับรถยนต์ที่มีอายุใช้งานนานปีก็คือ การมีสนิมเกิดขึ้นที่เหล็กหรือบริเวณตัวถังของรถยนต์คันนั้น ทำให้เหล็กหรือตัวถังผุกร่อน เป็นรูโหว่ หากเจ้าของปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำการปะผุ ทำสีใหม่ สนิมก็จะกินเหล็กหรือตัวถังที่บริเวณนั้นจนเป็นรู และขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ ทำให้รถมีตำหนิไม่สวยงาม และอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้งานได้
   มนุษย์ก็เช่นกัน โอกาสที่บาป คือ อกุศล เช่น ความโลภ เป็นต้น ซึ่งเป็นประดุจสนิมจะเกิดขึ้นในใจนั้น เป็นไปได้ด้วยกันทุกคน จะต่างกันก็ตรงเกิดมากเกิดน้อยเท่านั้น บาปนั้นก็บงการใจ ให้เห็นแก่ตัวบ้าง เดือดดาลเร่าร้อนบ้าง ดื้อรั้นลุ่มหลงบ้าง เป็นต้น หากระงับไว้ไม่ได้ ก็จะปะทุออกมาทางคำพูด ชักนำให้พูดจาว่าร้ายกัน พูดคำเท็จ พูดยุยงให้แตกสามัคคี พูดคำหยาบ และปะทุออกมาทางการกระทำ ให้บุคคลนั้นกระทำการที่เบียดเบียนผู้อื่น ลักขโมย คดโกงผู้อื่นได้ เป็นต้น

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง ผลบางประการจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง ผลบางประการจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก
   เมื่อช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา มีประกาศจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ยกตัวอย่างเช่น ฉบับที่ ๒/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ให้ใช้ กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๖๓๐ นั้น จะขอกล่าว ถึงผลบางประการจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกให้ได้รับทราบกัน ดังนี้
  ๑. ทันทีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก เมื่อนั้นเป็นเวลาไม่ปกติ ซึ่งคดีที่เกิดขึ้นในเวลาไม่ปกติ และอยู่ในอำนาจศาลทหาร กฎหมายบัญญัติให้อัยการทหารเหล่านั้น มีอำนาจเป็นโจทย์ฟ้องคดีได้ ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้ แตกต่างจากเวลาปกติที่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมีอำนาจเป็นโจทย์ฟ้องคดีได้ด้วย ส่วนจำเลยนั้นยังคงมีสิทธิ์แต่งตั้งทนายความได้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาปกติหรือเวลาไม่ปกติก็ตาม สำหรับการพิจารณาตัดสินคดีนั้น กฎหมายบัญญัติให้คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้นในเวลาไม่ปกติ ห้ามมิให้อุทธรณ์ หรือฎีกา แตกต่างจากในเวลาปกติ เมื่อมีการพิจารณา พิพากษาโดยศาลทหารชั้นต้นเสร็จแล้ว คู่ความยังมีโอกาสที่จะอุทธรณ์ไปยังศาลทหารกลาง หรือฎีกาไปยังศาลทหารสูงสุดต่อไป

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง เทียนพรรษา ไม่ใช่ เทียนจำนำพรรษา

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง เทียนพรรษา ไม่ใช่ เทียนจำนำพรรษา
   ช่วงก่อนเทศกาลเข้าพรรษาของทุกปี มีประเพณีที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติอยู่กันทั่วไปประเพณีหนึ่งคือ ประเพณีการนำเทียนพรรษา ไปถวายยังวัดวาอารามต่างๆ เทียนที่จัดทำไปถวายแด่พระสงฆ์เพื่อใช้ประโยชน์ในระหว่างพรรษานี้ จึงเรียกสั้นๆ ว่า "เทียนพรรษา" จนกระทั่งเกิดเป็นประเพณีการหล่อเทียนพรรษา แห่เทียนพรรษา และถวายเทียนพรรษาอยู่อย่างแพร่หลาย
   ในปัจจุบันนี้มีคำเรียก "เทียนพรรษา" อีกชื่อหนึ่งว่า "เทียนจำนำพรรษา"
   คำว่า "เทียนจำนำพรรษา" นั้น สันนิษฐานว่าคงจะเรียกด้วยความไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิดคือ ไปคิดเทียบกับ "ผ้าจำนำพรรษา" ซึ่งนิยมถวายหลังจากออกพรรษาแล้ว เมื่อเรียก "ผ้าจำนำพรรษา" ได้ ก็เลยเรียก "เทียนจำนำพรรษา" ไปด้วย

เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ตอน ความสำคัญของตัว S

เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ตอน ความสำคัญของตัว S
   ถ้าถามถึงตัวอักษร S ในภาษาอังกฤษ คนทั่วไปจะนึกถึงอะไร คำตอบที่ได้อาจจะแตกต่างกันไปตามสถานการณ์และประสบการณ์ เช่น ถ้าถามคอภาพยนตร์ จะนึกถึงบรรดาเหล่า Superheroes อย่างเช่น Superman หรือ Spiderman ซุปเปอร์ฮีโร่ผู้คอยพิทักษ์โลกของเรา แต่ถ้าถามคนในวงการบันเทิง จะนึกถึง Superstar  หรือที่ใครหลายคนใฝ่ฝันอยากจะเป็นซุปตาร์ของเมืองไทย แต่ถ้าถามคนในวงการธุรกิจ จะนึกถึง SME (Small and Medium Enterprise) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่สำหรับครูภาษา คำตอบที่ได้ คือ S เป็นตัวอักษรที่มีควมสำคัญมากต่อไวยากรณ์ คำศัพท์ และการออกเสียงในภาษาอังกฤษ
   ในส่วนของไวยากรณ์ ตัวอักษร S มีความสำคัญในเรื่อง Tense (กาลภาวะ) ที่เป็น Present simple Tense  (ปัจจุบันกาล) แสดงถึงเหตุการณ์ที่เป็นความจริงทั่วไป หรือเกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกฎการผันกริยาตามประธานเอกพจน์หรือพหูพจน์ (Subject-Verb Agreement) ตามหลักที่ว่า ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ ๓ เช่น He, She, It,  A dog หรือ The boy กริยาที่ตามมาจะต้องเติม s หรือต้องเติม es หลังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s, ss, sh, ch, หรือ o ตัวอย่างเช่น

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี
   เรื่องการถวายสังฆทาน มีประเด็นที่ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องมากมาย เกร็ดความรู้ชาวพุทธในตอนนี้ จึงขอนำเสนอเรื่อง การถวายสังฆทานให้ถูกวิธี ในประเด็นที่ว่า "สังฆทานควรถวายเวลาไหน" หมายถึง เวลาเข้า สาย บ่าย เย็น ค่ำ เพราะเท่าๆ ที่ทำกันนั้น อยากถวายเวลาไหน หรือว่างเวลาไหน ก็ถวายกันในเวลานั้น
   คำตอบก็คือ ถ้าของที่จะถวายนั้นเป็นของกิน หรือมีของกินรวมอยู่ด้วย เช่น มีข้าว มีแกง มีขนม หรือของกินจำพวกเครื่องกระป๋องของแห้ง อย่างนี้ต้องถวายก่อนเที่ยงเท่านั้น หลังเที่ยงไปแล้วห้ามถวาย เพราะตามวินัยสงฆ์นั้น พระสงฆ์จะรับประเคนของกินหลังเที่ยงวันไปแล้วไม่ได้
   แต่ถ้าเป็นของใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ผ้าสบงจีวร ยาสามัญประจำวัด ร่ม รองเท้า ฯลฯ เหล่านี้ สามารถถวายได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นก่อนเที่ยง หรือหลังเที่ยง สะดวกตอนไหนก็ถวายตอนนั้น
   ปัญหาที่พบก็คือ

กฏหมายใกล้ตัว ตอน เก็บทรัพย์สินได้ ไม่คืนเจ้าของเสี่ยงติดคุกกกก

กฏหมายใกล้ตัว ตอน เก็บทรัพย์สินได้ ไม่คืนเจ้าของเสี่ยงติดคุกกกก
   ข่าวพลเมืองดีเก็บของมีค่าต่างๆ ได้ แล้วนำไปคืนเจ้าของ เมื่อเราได้รับฟังข่าวในลักษณะนั้น ก็อดชื่นชมในความซื่อสัตย์สุจริตของบุคคลเหล่านั้นมิได้ แล้วเลยมองย้อนมาถึงตัวเราว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ลักษณะนั้นกับตัวเรา จะปฏิบัติอย่างไร จะนำไปคืนหรือประกาศหาเจ้าของหรือไม่ และบางครั้งก็อาจเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเอาไปคืน เราจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่ แล้วทำไมเราต้องเอาไปคืน และก็มีไม่น้อยที่เก็บได้ และคิดว่าฟ้าประทานของขวัญมาให้ โดยคิดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในของนั้น และจะใช้ทรัพย์นั้นอย่างใดก็ได้ และไม่จำเป็นต้องคืน
   ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ ในทางกฎหมาย ทรัพย์สินที่เก็บได้นั้น นอกจากจะมิใช่ของขวัญที่ฟ้าประทานให้แล้ว กลับยังเป็นวิบากกรรมที่ผู้เก็บได้ต้องค้นหาเจ้าของและส่งคืนเจ้าของอีกด้วย ซึ่งหากผู้เก็บได้ยังคิดว่าตนมีสิทธิ์ในของนั้น และไม่ยอมคืน นั่นเป็นสัญญาณแจ้งว่า ฟ้ากำลังประทานข้อหา "ลักทรัพย์ หรือยักยอก" มาให้แล้ว และผลวิบากกรรมดังกล่าว อาจต้องเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ต้องหา เป็นจำเลย หรือต้องเปลี่ยนสถานที่นอนเป็นคุก เป็นตารางไปเสียอย่างนั้น ซึ่งหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง ฟังเทศน์

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง ฟังเทศน์
   การเทศน์เป็นบุญกริยาการกระทำที่เป็นบุญอย่างหนึ่งเรียกว่า ธัมมเทสนามัย และการฟังเทศน์ก็เป็นบุญกริยาข้อหนึ่ง เรียกว่า ธัมมัสสวนมัย ทั้ง ๒ ข้อนี้ เป็นบุญที่ชาวพุทธนิยมกระทำกันทั่วไป การเทศน์เป็นรูปแบบแสดงธรรมที่มีมาแต่เดิม ปัจจุบันนี้มีการแสดงธรรมในรูปแบบใหม่ เรียกกันว่า "ปาฐกถาธรรม"
   การเทศน์กับการปาฐกถาธรรมเป็นการแสดงธรรมเหมือนกัน แต่มีรูปแบบที่ต่างกัน ที่เป็นหลักใหญ่ก็คือ ถ้าเป็นการเทศน์ ผู้เทศน์ต้องนั่งบนธรรมาสน์และต้องถือคัมภีร์เทศน์ ส่วนการปาฐกถาธรรม องค์ปาฐกจะนั่งหรือยืนก็ได้และไม่ต้องถือคัมภีร์
   การเทศน์มีหลักปฏิบัติที่ควรรู้ ดังนี้

เดาศัพท์อังกฤษอย่างไรให้มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายจริงมากที่สุด (เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ)

เดาศัพท์อังกฤษอย่างไรให้มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายจริงมากที่สุด (เทคนิคพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ)
   ในบางครั้งเมื่ออ่านบทความ หรือข่าวภาษาอังกฤษ เราอาจพบกับคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ไม่ทราบความหมาย พจนานุกรม (Dictionary) เป็นสิ่งที่จะช่วยเราได้ดีที่สุด และทำให้เราได้เรียนรู้คำใหม่นั้น ถ้าไม่มีพจนานุกรม เราจะทำอย่างไรให้เข้าใจความหมายของคำศัพท์คำนั้น วิธีการยอดนิยมของหลายๆ คน คือ การเดา แต่จะเดาอย่างไรจึงจะถูกต้อง หรือให้มีความหมายใกล้เคียงกับความหมายจริงมากที่สุด บทความนี้จะนำเสนอวิธีการเดาความหมายของคำศัพท์ที่เราไม่รู้จัก เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งมีหลักการในการเดาความหมายของคำศัพท์ ดังนี้
   ๑. Definition clues : การเดาจากคำนิยาม/คำจำกัดความ  การให้คำนิยามหรือคำจำกัดความเป็นการบอกความหมายของคำศัพท์อย่างตรงๆ และจัดเจน สังเกตุได้จากคำกริยาต่างๆ ตัวอย่างเช่น
๑.๑ v. to be  ได้แก่ is/ are/ was/ were = คือ
A mammoth is a mammal that lived during the Ice Ages. แมมมอธ คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อาศัยในยุคน้ำแข็ง
๑.๒ mean = หมายถึง/ หมายความว่า
A glacier means an extremely large mass of ice which moves very slowly, often down a mountain valley. ธารน้ำแข็ง หมายถึง ก้อนน้ำแข็งขนาดมหึมาที่เคลื่อนที่ช้ามาก มักจะไหลจากภูเขาลงสู่หุบเขา
๑.๓ is/are known as = รู้จักกันในนามของ Triangles that are the same shape and size are known as congruent triangles. สามเหลี่ยมที่มีรูปร่างและขนาดเท่ากันรู้จักกันในนามของสามเหลี่ยมด้านเท่า
   เมื่อเห็นคำกริยาเหล่านี้ ผู้อ่านจะทราบได้ว่า คำหรือข้อความที่ตามมาจะมีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกับคำหรือข้อความที่นำมาข้างหน้า

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง หน้าที่ของคน

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง หน้าที่ของคน
   มีคำกล่าวเกี่ยวกับหน้าที่ไว้ว่า หน้าที่ของชาวประมงคือ หาปลา หน้าที่ของพ่อค้าคือ หาผลกำไร หน้าที่ของศิลปิน คือ สร้างศิลปะ หน้าที่ของพระ คือ สอนธรรม แสดงให้เห็นว่า หน้าที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม คำว่า "หน้าที่" นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ ๒ อย่าง คือ
   ๑. หน้าที่โดยธรรมชาติ เช่น หน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูที่บิดามารดาพึงทำแก่บุตรธิดา หน้าที่ในการเลี้ยงดูตอบแทนบุญคุณที่บุตรธิดาพึงทำแก่บิดามารดา เป็นต้น เป็นหน้าที่ที่ต่างคนต่างทำด้วยความรัก ความเคารพต่อกัน และทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
   ๒. หน้าที่โดยได้รับมอบหมาย เช่น หน้าที่ในการปกครองและกำกับดูแลลูกน้องให้ปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อยของหัวหน้า หน้าที่ที่จะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามหัวหน้าของลูกน้อง เป็นต้น เป็นหน้าที่ที่ทำแล้วมีผลตอบแทนตามความเหมาะสม

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง หนังสือรับสภาพหนี้

กฎหมายใกล้ตัว เรื่อง หนังสือรับสภาพหนี้
   โดยพฤติกรรมของผู้ที่จะมาปรึกษากฎหมายนั้น แปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือมักจะค้นหาข้อมูลด้วยการเปิดกูเกิ้ล แล้วศึกษาเรื่องเหล่านั้นมาจนละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จนบางครั้งผู้เขียนรู้สึกว่า คนที่มาขอคำปรึกษา อาจเข้าใจเรื่องนั้นๆ ดีกว่าผู้เขียนเสียอีก บ้างก็เป็นข้อมูลที่ผู้เขียนไม่เคยรู้มาก่อน หรือบางท่านมาไล่ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ผู้เขียนฟัง พรางนึกในใจว่า ถ้ารู้ขนาดนี้แล้ว ไม่น่ามาปรึกษาผู้เขียนเลย
   แต่สิ่งที่ทำให้นักกฎหมายไม่เสียฟอร์ม และสามารถยืนหยัดเป็นนักกฎหมายได้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ตัวบทกฎหมาย หากแต่ต้องรู้หลักการตีความของกฎหมายด้วย เมื่อมีคนมาปรึกษากฎหมาย สิ่งที่จำเป็นมาก คือ ต้องเก็บข้อมูลของผู้ที่มาปรึกษาว่า มาปรึกษาเรื่องอะไร มีกฎหมายใดเกี่ยวข้องบ้าง และหลักการตีความของกฎหมายในเรื่องนั้นๆ เป็นอย่างไร โดยขอยกอุทาหรณ์ประกอบ ดังนี้

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง พิธีทักษิณานุประทาน

เกร็ดความรู้ชาวพุทธ เรื่อง พิธีทักษิณานุประทาน
   คำว่า "ทักษิณานุประทาน" หมายถึง การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เพื่อให้ผู้ตายได้รับผลเป็นความสุข ความเจริญ พ้นจากภาวะที่ทุกข์มรมานในทุคติ มีวิธีทำคือ การตักบาตร เลี้ยงพระ ถวายสังฆทาน บังสุกุล เป็นต้น แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุุศลไปให้แก่ผู้ตาย ซึ่งเป็นวิธีทำบุญในงานอวมงคลทั้งหมด เช่น ทำบุญหน้าศพ ทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน หรือทำบุญวันคล้ายวันตาย เป็นต้น เรียกว่า ทักษิณานุประทาน ทั้งนั้น
   ปัจจุบัน พิธีทักษิณานุประทาน นิยมปฏิบัติแทรกอยู่ในงานมงคลเป็นจำนวนมาก เช่น พิธีทำบุญวันเกิด ทำบุญฉลองยศตำแหน่ง พิธีทำบุญคล้ายวันสถาปนาหน่วย เป็นต้น ก็นิยมทำพิธีทักษิณานุประทาน อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษของตน หรือของหน่วยงานนั้น ด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติได้เป็น ๓ แบบ คือ